กระบวนการผลิต

กระบวนการผลิต

1. การเตรียมโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (NaOCl)
(1.1) การเตรียมคลอรีน จากปฏิกิริยาระหว่าง KMnO4 กับ HCl เข้มข้น ดังนี้
2KMnO4 (s) + 16 HCl (aq) -> 2KCl (aq) + 2MnCl2 (aq) +8H2O (l) + 5Cl2 (g)
หรืออาจใช้ปฏิกิริยาดังนี้
K2Cr2O7 (s) + 14HCl (aq) -> KCl (aq) + 2CrCl3 (aq) + 7H2O (l) + 3Cl2 (g)
MnO2 (s) + 4HCl (aq) MnCl2 (aq) + 2H2O (l) + Cl2 (g)
(2.2) ผ่าน Cl2 ลงในสารละลาย NaOH จะได้โซเดียมไฮโปคลอไรต์และโซเดียมคลอไรต์ เป็นผลิตภัณฑ์
Cl2 (g) + 2NaOH (aq) -> NaCl (aq) + NaOCl (aq) + H2O (l)
**ผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นสารละลาย แสดงว่า NaOCl ที่เกิดขึ้นละลายได้ในน้ำ และเมื่อทดสอบบนกระดาษลิตมัสสีแดง และน้ำเงิน กระดาษทั้งสองสีเปลี่ยนเป็นสีขาวแสดงว่า NaOCl มีสมบัติฟอกจางสี
**การฟอกจางสีของสารฟอกขาวเกิดจากแก็สคลอรีนที่สลายตัวจากโซเดียมไฮโปคลอไรด์ ซึ่งมีสมบัติในการกัดกร่อนสูง
2. การเตรียมแคลเซียมไฮโปคลอไรด์ (Ca(OCl2)2 )
เตรียมโดยการผ่าน Cl2 (g) ลงในสารละลาย Ca(OH)2 เกิดปฏิกิริยาดังสมการ
2Cl2 (g) + 2Ca(OH)2 (aq) -> Ca(OCl)2 (aq) + CaCl2 (aq) + 2H2O (l)
** Ca(OCl)2(s) มีสมบัติในการฟอกจางสีเช่นเดียวกับ NaOCl(aq) แต่เป็นสารฟอกขาวที่อยู่ในรูปของเเข็ง ส่วน NaOCl(aq)เป็นสารฟอกขาวที่อยู่ในรูปสารละลาย เนื่องจากเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี **
โซเดียมไฮเปอร์คลอไรต์ (NaOCl) อาจเตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊สคลอรีน Cl2 กับ โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) หรือโซดาแอช ดังสมการ
Na2CO3(aq) + Cl2(g) -> NaOCl(aq) + NaCl(aq) + CO2(g)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น